วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การสร้างพลังอำนาจและแรงจูงใจ

1.1สรุปเป็นบทความเชิงวิชาการ


           ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมอง

                โรคหลอดเลือดในสมอง(Cerebrovascular Disease) เป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุดในโรคทางระบบประสาท เป็นหนึ่งในสิบอันดับแรกของสาเหตุการตาย ในประเทศไทยมีอัตราการตายของผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองประมาณร้อยละ 20-30 ในรายที่มีพยาธิสภาพไม่รุนแรงมักหลงเหลือความผิดปกติ เช่น อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง แขนขาเคลื่อนไหวช้าและไม่สัมพันธ์กัน พูดไม่ได้ กลืนลำบาก ไม่สามารถควบคุมระบบขับถ่ายได้ อาจพบปัญหาแทรกซ้อนเช่นแผลกดทับ ติดเชื้อระบบหายใจหรือทางเดินปัสสาวะ มีผลกระทบให้คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลต่ำลง ส่งผลให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยต่ำลงด้วยเช่นกัน

                การมีคุณภาพชีวิตที่ต่ำลงของผู้ดูแลและผู้ป่วย มีปัจจัยจาก พลังอำนาจของผู้ดูแลผู้ป่วย การขาดองค์ความรู้ ความเข้าใจ ในโรคและผู้ป่วยอย่างถูกต้อง ทำให้ขาดความตระหนักและเข้าใจในปัญหาตามสภาพการณ์จริง ส่งผลให้ขาดความมั่นใจในความสามารถของผู้ดูแลที่จะควบคุมเกี่ยวกับดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมอง ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมองโดยการสร้างโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมอง เพื่อสร้างความตระหนักและเข้าใจในปัญหาตามสภาพการณ์จริง องค์ความรู้ ความเข้าใจ ในโรคหลอดเลือดในสมองและผู้ป่วยอย่างถูกต้อง ซึ่งจะก่อให้เกิดความมั่นใจในความสามารถของผู้ดูแลที่จะควบคุมเกี่ยวกับดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมอง ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของผู้ดูแลและผู้ป่วยดีขึ้นเช่นกัน

              การเสริมสร้างพลังอำนาจมี 4 ขั้นตอน คือ 1.การค้นพบสภาพการณ์จริงทำให้ผู้ดูแลตระหนักถึงปัญหาและเข้าใจการดูแล 2.การสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นการทบทวนเหตุการณ์อย่างรอบคอบและฝึกทักษะในการทำความเข้าใจกับปัญหา ได้ทางเลือกในการปฏิบัติ 3.ผู้ดูแลสามารถตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติที่เหมาะสมกับผู้ป่วยได้ 4.มีการคงไว้ซึ่งการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ โดยโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมอง ทำการศึกษาในผู้ดูแลผู้ป่วยหลอดเลือดในสมอง 40 คนเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยเป็นหลัก แบ่งเป็น 2 กลุ่มกลุ่มละ 20 คนกลุ่มทดลองเป็นกลุ่มเข้ารับโปรแกรม กลุ่มควบคุมไม่ได้เข้าโปรแกรมแต่รับการสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนตัว แบบวัดการรับรู้พลังอำนาจ แบบวัดคุณภาพชีวิตผู้ดูแลผู้ป่วย แบบวัดคุณภาพชีวิตผู้ป่วย และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย โดยทำการศึกษาเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ดำเนินกิจกรรมการเสริมสร้างพลังอำนาจทั้ง 4 ขั้นตอน 4 ครั้ง(2สัปดาห์ต่อครั้ง)

              กลุ่มที่ได้เข้ารับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะมีการรับรู้พลังอำนาจและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เข้าโปรแกรม และสูงกว่าก่อนทำการทดลอง

ดังนั้นหากบุคลากรที่ให้บริการทางด้านสุขภาพจะให้บริการอย่างเป็นประโยชน์สูงสุดในสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยและผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ต้องมีการประยุกต์ใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ดูแลผู้ป่วยให้เหมาะสมกับผู้ป่วยต่างๆ และ สร้างโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ดูแลผู้ป่วย เพื่อสร้างความตระหนักและเข้าใจในปัญหาตามสภาพการณ์จริง องค์ความรู้ ความเข้าใจ ในโรคนั้นๆและผู้ป่วยอย่างถูกต้อง ซึ่งจะก่อให้เกิดความมั่นใจในความสามารถของผู้ดูแลที่จะควบคุมเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยต่อไป


        1.2 กรอบแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในงานวิจัย







      1.3 สรุปรายละเอียดเกี่ยวกับทฤษฎีที่ใช้ในงานวิจัย

              1.ทฤษฎีการเสริมสร้างพลังอำนาจแนวคิดของกิปสัน เป็นแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจ ประยุกต์แนวคิดมาเป็นโปรแกรมสร้างเสริมพลังอำนาจในผู้ดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดในสมอง เพื่อสร้างความตระหนักและเข้าใจในปัญหาตามสภาพการณ์จริง องค์ความรู้ ความเข้าใจ ในโรคหลอดเลือดในสมองและผู้ป่วยอย่างถูกต้อง ซึ่งจะก่อให้เกิดความมั่นใจในความสามารถของผู้ดูแลที่จะควบคุมเกี่ยวกับดูแลผู้ป่วย เพิ่มการรับรู้พลังอำนาจเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วย ส่งผลให้เพิ่มระดับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

              2.ทฤษฎีการรับรู้พลังอำนาจ งานของศรีรัตน์ คุ้มสิน ใช้แบบวัดการรับรู้พลังอำนาจของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สร้างขึ้นเพื่อวัดความสามารถในการควบคุมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและการดูแลตนเองทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ประกอบด้วย การดูแลเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันทั่วไป การรับประทานอาหาร การดูแลผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะ การทำความสะอาดแผล การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การใช้อุปกรณ์เสริมและปรับสภาพแวดล้อม การฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วย การสนับสนุนด้านอารมณ์ การจัดการความเครียดที่เกิดกับ

             3.ทฤษฎีคุณภาพชีวิต ใช้ แบบวัดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย 26 ตัวชี้วัด ที่ สุวัฒน์ มหัตนรันดร์และคณะพัฒนาขึ้นใหม่ให้เหมาะสมกับคนไทย ใช้มาตราส่วนประมาณค่า

            4.ทฤษฎีคุณภาพชีวิตตามแนวคิของโอเร็ม วัดความพึงพอใจและความสุขในชีวิต แบบวัดคุณภาพชีวิตของแคนทริล เป็นมาตราขั้นบันได ช่วงคะแนน 0 ถึง 10 โดย 0 แสดงถึงระดับคุณภาพชีวิตที่สูงสุด วัดคุณภาพชีวิตเป็น 2 มิติตามแนวคิดของโอเร็ม คือความพึงพอใจและความสุขในชีวิต


ข้อที่ 2 นับตั้งแต่วินาทีนี้ถึงสิ้นเทอมปีการศึกษาภาคการเรียนที่ 1 /2553 นักศึกษาจงวิเคราะห์ตนเองในเรื่องส่วนตัว การศึกษาในเทอมนี้ โดย

           2.1 ตั้งเป้าหมายวัตถุประสงค์ที่ต้องการทำให้บรรลุผลสำเร็จ

เป้าหมาย
             1.มีความรู้ ความสามารถ ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน และสามารถสอบวัดผลความรู้ได้ระดับคะแนนมากกว่าร้อยละ 80 ในทุกรายวิชา

             2.สามารถนำความรู้ไปใช้และประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

            3.สามารถนำความรู้ที่มีจัดทำโครงการแบบไม่เป็นทางการ “โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน” เพื่อช่วยแนะนำและทบทวนบทเรียนที่เพื่อนยังไม่เข้าใจ หรือมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อกัน



2.2 ใช้หลักการในการบริหารจัดการเวลาจัดทำตารางการทำงาน การเรียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

แจกแจงสิ่งที่ต้องทำ 1.ทบทวนบทเรียนทุกรายวิชาทุกวัน

2. ทบทวนองค์ความรู้ที่ใช้การฝึกปฏิบัติงาน

3.กิจกรรมโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน สัปดาห์ละ 1 วัน ครั้งละ 3 ชั่วโมง

ข้อที่ 3 จากการขึ้นฝึกปฏิบัติงานที่ตึกผู้ป่วย ให้นักศึกษาทบทวนสถานการณ์ที่เป็นปัญหาขัดแย้ง(conflict) ในเชิงบริหาร 1 สถานการณ์

              ตัวอย่างปัญหา พบปัญหามีการทะเลาะ มีปากเสียงกัน ส่งผลให้บกพร่องต่อการปฏิบัติงาน ขาดปฏิสัมพันธ์ที่ดีภายในตึก ขาดการประสานงานการสื่อความหมายพูดคุยที่มีประสิทธิภาพ มีผลกระทบให้การให้บริการผู้ป่วยมีคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผลลดลง

3.1 ถ้านักศึกษาดำรงบทบาทหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล หัวหน้าตึก หัวหน้าเวร หัวหน้าทีม และอยู่ในสถานการณ์นั้นๆ นักศึกษาจะแก้ไขสถานการณ์นั้นอย่างไร

               การแก้ไขสถานการณ์และปัญหา

              1.ค้นหาสาเหตุของปัญหา จากการสังเกตพฤติกรรมของผู้ให้บริการทั้งในและนอกตึกที่เราดูแล สอบถาม สัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้รับบริการแบบ 360 องศา คือ “ประเมินทั้งตนเองและผู้อื่นเพื่อวิเคราะห์ปัญหา”

              2.ระบุปัญหา เช่น จากเรื่องส่วนตัว หรือจากการทำงาน

              3.หาแนวทางแก้ปัญหาแบบประนีประนอม มีการเรียกคู่กรณีที่เป็นปัญหาต่อกันเข้าพบที่ละคนหรือกลุ่มเพื่อไกล่เกลี่ย หากปัญหาไม่รุนแรงอาจเรียกพบพร้อมกัน

             4.หากยังมีปัญหาเดิมเกิดขึ้น มีการว่ากล่าวตักเตือน ชี้แจงบทลงโทษหากมีกรณีขัดแย้งเกิดขึ้นอีก เช่นหากมีกรณีครั้งต่อไปอาจมีการจำกัดขอบเขตการทำงาน หรือย้ายแผนก

             5.หากยังคงมีปัญหาเกิดขึ้น ชี้แจงความผิด ลงโทษสถานหนัก เช่น รายงานผู้บริหาร ย้ายแผนก

3.2 หาทางป้องกันไม่ให้สถานการณ์นี้เกิดขึ้นอีกได้อย่างไร

           แนวทางป้องกัน

- จัดกิจกรรมสร้างเสริมความสัมพันธ์ภายในตึก พบปะพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ ทำกิจกรรมที่มีความผ่อนคลายและรู้สึกเป็นทีมร่วมกัน เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่ดีและเป็นการประเมินความสัมพันธ์ด้วย เดือนละ 1-2ครั้ง

- จัดทำแบบประเมินพฤติกรรม ความพึงพอใจของตนเองและเพื่อนร่วมงาน โดยประเมินแบบ 360 องศา มีกล่องรับความคิดเห็นแสดงความคิดเห็นที่มีต่อตนเองและเพื่อนร่วมงาน เพื่อป้องกันพฤติกรรมที่เกิดความขัดแย้ง และเป็นแนวทางในการหาสาเหตุของปัญหาเพิ่มขึ้นเดือนละ 1-2ครั้ง

- จัดกิจกรรมสร้างแรงจูงใจในการบริการด้วยใจ โดยมีการคัดเลือกพนักงานดีเด่นประจำแต่ละเดือน และประเมินผลรายปีเพื่อมีรางวัลสำหรับพนักงานดีเด่น โดยให้ประเมิน360 องศา

- จัดอบรมเกี่ยวกับ “การจัดการทางอารมณ์” และ“ความคิดเชิงบวก” ทุก 3-4 เดือน และให้ประเมินตนเองพร้อมทั้งเสนอวิธีแนวทางแก้ปัญหาการจัดการทางอารมณ์และความคิดเชิงบวกของตนเอง

- จัดอบรมโครงการ “ฝึกสมาธิ ฝึกสติ ฝึกใจ” เพื่อพัฒนาจิตใจให้มีสุขภาพใจที่ดี ส่งผลให้มีการบริการที่ดี ฝึกทุกสัปดาห์พร้อมทั้งเขียนรายงานการฝึกปฏิบัติ

2 ความคิดเห็น: